ความเป็นมาโครงการ

กรมทางหลวง ได้จัดทำแผนพัฒนาทางหลวง โดยกำหนดตามทิศทางของการพัฒนาระบบคมนาคมและขนส่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแต่ละฉบับมาตามลำดับ งานที่ดำเนินการจะครอบคลุมถึงโครงการใหม่ ซึ่งเป็นงบลงทุนก่อสร้างและบูรณะทางหลวงทั่วประเทศ อาทิ งานก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง งานก่อสร้างเพิ่มมาตรฐานทางหลวงให้เป็น 4 ช่องจราจรหรือมากกว่า งานบูรณะและปรับปรุงทางลาดยางเดิม งานก่อสร้างเป็นทางลาดยาง มาตรฐานงานก่อสร้างทางแนวใหม่ งานก่อสร้างทางแยกต่างระดับและสะพานลอย ตลอดจนงานอำนวยความปลอดภัย เป็นภารกิจหลักที่กรมทางหลวงมุ่งที่จะพัฒนาให้สมบูรณ์ ในการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนงานดังกล่าว กรมทางหลวงจะต้องจัดเตรียมโครงการให้เป็นไปตามแผนงาน โดยเฉพาะงานสำรวจและออกแบบ ซึ่งในปีงบประมาณนี้มีโครงการก่อสร้างเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้การเตรียมโครงการเป็นไปตามแผนงาน และเพื่อเป็นการส่งเสริมกิจการของที่ปรึกษาไทยตามนโยบายรัฐบาล กรมทางหลวงจึงแบ่งงานส่วนหนึ่ง เพื่อว่าจ้างบริษัทวิศวกรที่ปรึกษาช่วยในการสำรวจและออกแบบ ซึ่งจะช่วยให้งานสำรวจและออกแบบเป็นไปตามแผนทันกับงานโครงการก่อสร้าง และงานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จะดำเนินการได้เมื่อมีแบบแล้ว

การพัฒนาระบบโครงข่ายทางหลวงให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพทั่วประเทศเพื่อให้สามารถรองรับปริมาณความต้องการในการเดินทางและการขนส่งสินค้าทางถนนซึ่งมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องโครงข่ายทางหลวงเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ถูกพัฒนาโดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนผู้ใช้ทางหลวงมีความปลอดภัยได้รับความสะดวกรวดเร็วและสามารถเชื่อมต่อกับระบบขนส่งในรูปแบบอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งนี้ระบบโครงข่ายทางหลวงจะถูกพัฒนาขึ้นได้จำเป็นต้องมีความเชื่อมโยงกับนโยบายยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาต่างๆได้แก่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เชื่อมโยงกับเป้าหมายที่ 9 สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม สำหรับนโยบายระดับประเทศ ประกอบไปด้วย ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (.. 2561 – 2580) เป็นยุทธศาสตร์ฉบับแรกของประเทศไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยมีวิสัยทัศน์ให้ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยยุทธศาสตร์ที่ 2 ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน เพื่อยกระดับศักยภาพในหลากหลายมิติ อันจะมุ่งเน้นไปที่มิติโครงสร้างพื้นฐาน เชื่อมไทย เชื่อมโลกที่มีความสอดคล้องกับการพัฒนาโครงสร้างการขนส่งทางถนน และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (.. 2566 – 2570) โดยหมุดหมายการพัฒนาที่มีความเชื่อมโยงกับการดำเนินงานและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งทางถนน ได้แก่ หมุดหมายที่ 5 ไทยเป็นประตูการค้าการลงทุนและยุทธศาสตร์ทางโลจิสติกส์ที่สำคัญของภูมิภาค ดังนั้น จะเห็นได้ว่า การศึกษา สำรวจ และออกแบบทางหลวง 4 ช่องจราจร บนทางหลวงหมายเลข 3454 สาย อ.วิเศษชัยชาญ.หน้าโคก เป็นการพัฒนาระบบโครงข่ายทางหลวงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อรองรับปริมาณความต้องการในการเดินทาง และการขนส่งสินค้าทางถนนล้วนมีความเชื่อมโยงกับนโยบายและทิศทางการพัฒนาของประเทศไทย 

ทางหลวงหมายเลข 3454 เป็นทางหลวงใน จังหวัดอ่างทอง เชื่อมต่อระหว่างทางหลวงหมายเลข 33กับทางหลวงหมายเลข 340 เป็นเส้นทางหลักที่ใช้เดินทางสำหรับประชาชน และการขนส่งสินค้า ระหว่างจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดชัยนาท ปัจจุบันแนวเส้นทางมีปริมาณการจราจรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้ผู้ใช้ทางไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทาง เนื่องจากแนวเส้นทางเป็นจุดเชื่อมต่อพื้นที่ที่มีประชาชนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น จึงมีปริมาณการสัญจรไปมาระหว่างพื้นที่โดยใช้เส้นทางบนทางหลวงหมายเลข 3454 สาย อ.วิเศษชัยชาญ.หน้าโคกที่ค่อนข้างมาก ประกอบกับลักษณะทางกายภาพของเส้นทางยังคงเป็น 2 ช่องจราจรแบบสวนทางกัน ส่งผลให้ไม่สามารถรองรับปริมาณการเดินทาง และการขนส่งสินค้าที่เพิ่มมากขึ้นได้ อีกทั้งแนวเส้นทางของโครงการผ่านพื้นที่อ่อนไหวทางด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเข้าข่ายต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องกำหนดประเภทและขนาดโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 48 แห่ง พ... ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.. 2535 และ ฉบับที่ 2 .. 2561 ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมข้างต้นทั้งนี้เพื่อให้การพัฒนาโครงการก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรวมทั้งประชาชนที่อยู่บริเวณพื้นที่โครงการน้อยที่สุด